บันทึกอนุทิน
วิชา EAED 4215 Learning Experiences Management in Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี วันที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2559
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.30 น.
เวลาเข้าเรียน 14:30 น.เวลาเลิกเรียน 17.30 น.
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักทฤษฎีต่างๆสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
2.วอลดอร์ฟ (Waldorf)
3.การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project - based Learning : PBL)
4.พหุปัญญา (Multiple Intelligence)
5.STEM (Science, Technology, Engineering, and Mathematics)
6.BBL (Brain-based Learning)
ทฤษฎีและแนวคิดของมอนเตสซอรี
มอนเตสซอรี ได้แบ่งระยะการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กออกเป็น 6 ระยะ ระยะเหล่านี้เรียกว่าSensitive periods
1.ระยะที่หนึ่ง เป็นระยะที่ซึมซับหรือเรียนรู้ "การรับรู้ทางด้านประสาทสัมผัส" ดีที่สุด ระยะนี้จะเป็นช่วงอายุตั้งเเต่แรกเกิดถึง 5 ปี ช่วงนี้เด็กควรจะมีโอกาสได้ฝึกประสาทสัมผัสให้มากที่สุด เด็กที่ขาดโอกาส เช่น ถูกห้ามไม่ให้แตะต้อง หยิบ สัมผัสสิ่งของต่างๆ จะขาดโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถทางรับรู้ทางประสาทสัมผัส
2.ระยะที่สอง เป็นระยะที่เรียนรู้ภาษาได้ดีที่สุดจะเป็นช่วงระยะตั้งแต่อายุ 3 เดือน ถึง 5 ปี เด็กจะเรียนจากปฏิกิริยาและสิ่งแวดล้อมและการเลียนแบบ
3.ระยะที่สาม เป็นระยะที่เรียนรู้ "ระเบียบ"(Order) ดีที่สุดจะเป็นช่วงอายุแรกเกิดถึง 3 ปี ในช่วงปีที่ 2 จะเป็นช่วงสูงสุด ในปีที่ 3 จะค่อยลดลง การเรียนรู้"ระเบียบ" นี้เด็กจะเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและกิจวัตรที่คงที่สม่ำเสมอ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ตู้เสื้อผ้าจะต้องอยู่คงที่ ถ้ามีการเปลี่ยนที่ เด็กจะรู้สึกสับสน เวลากินอาหาร เวลาเล่น ถ้าสม่ำเสมอ เด็กจะรู้สึกสบายใจ ใบหน้าของผู้เลี้ยงดูก็จะต้องเป็นใบหน้าเดิม ถ้าการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้เด็กสับสน พ่อแม่ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจว่าอยู่ๆ ทำไมลูกจึงร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กเกิดความสับสน เพราะฉะนั้นในวัยนี้ผู้เลี้ยงดูจึงต้องพยายามให้มีความคงที่ ในกิจวัตรและสิ่งแวดล้อม ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงควรหาทางให้เด็กค่อยๆเคยชินการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
4.ระยะที่สี่ เป็นระยะที่เรียนรู้"ของเล็กๆและรายละเอียดย่อยๆ"(tiny objects and small details) ระยะนี้ได้แก่ ช่วงอายุ 2-3 ปี ในช่วงนี้เด็กชอบสังเกตสิ่งเล็ก เช่น เวลาพาไปเที่ยวปิกนิกแทนที่เด็กจะสนใจนำตก แต่กลับสนใจมดเล็กๆที่เดินแถวมาที่โต๊ะอาหาร เวลาดูรูปภาพเด็กก็จะสังเกตเห็นรายละเอียดเช่น เข็มขัดหรือดาบของนักรบถ้าเด็กได้รับการส่งเสริมให้เหมาะสมกับระยะ sensitive period นี้ก็จะช่วยพัฒนาให้เด็กเป็นคนช่างสังเกตมีสมาธิซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของศาสตร์ต่างๆ
5.ระยะที่ห้า เป็นระยะที่เรียนรู้ "ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหว" (co-ordination of movement) ระยะนี้ได้แก่ ช่วงอายุ 2-4 ปี วัยนี้เด็กจะเรียนรู้การใช้อวัยวะต่างๆเช่น นิ้ว แขน ปาก ได้อย่างดี
6.ระยะที่หก เป็นระยะที่เรียนรู้ "ความสัมพันธ์ทางสังคม(Social relations) ได้แก่ ช่วงอายุ 2-5 ปี วัยนี้เด็กจะเริ่มเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่นและมารยาททางสังคม ถึงแม้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จะมีปกติเล่นตามลำพัง หรือเล่นคู่ขนานกับเพื่อน แต่วัยนี้เด็กเริ่มเรียนรู้และสนใจผู้อื่น สนใจที่จะเรียนรู้มายาทและวัฒนธรรมในสังคม
1.ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อเด็ก รับเด็กอย่างที่เป็น เพื่อให้เด็กสามารถยอมรับตนเอง
2.การสังเกตเด็กของครูถื่อว่าเป็นวิธีการสอน มอนเตสซอรี่ย้ำถึงความสำคัญของทักษะการสังเกตเด็กของครูมาก เพราะจากการสังเกตเด็กครูจะสามารถรู้ว่าเด็กต้องการอะไร ต้องการเรียนรู้เรื่องใดสามารถทำสิ่งใดได้ และมีปัญหาที่ครูจะช่วยได้อย่างไร มอนเตสเซอรีกล่าวว่า คนที่สังเกตไม่ได้ จะไม่มีทางเป็นครูที่ดีได้เลย
3.ครูให้เด็กมีเสรีในการตัดสินใจ มีโอกาสเลือก ให้เด็กได้เสี่ยง (take risk)และเรีนนรู้จากความผิดพลาด(mistake)อนึ่งอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี จะช่วยให้เด็กรู้ผลของการกระทำของตนเองและเด็กมีโอกาสได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
4.คูรจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม (prepared environment) ซึ่งจะมีสิ่งของที่พัฒนาทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ การสัมผัส การเคลื่อนไหว ครูจะให้เด็กเลือกและทำงานด้วยตนเอง มอนเตสซอรีพบว่า เด็กมีสมาธิหรือสามารถนั่งทำงานได้เวลานานเป็นเวลานานในสิ่งที่สนใจ เด็กชอบความเป็นระเบียบและชอบทำงานมากกว่าเล่น เมื่อเด็กกระทำงานใดเด็กมักจะทำซ้ำๆจนกระทั่งมีความมั่นใจและชำนาญในการกระทำนั้น กิจกรรมที่เด็กกระทำและมอนเตสซอรี่ถือว่าเป็นงาน(work)นั้นเวลากล่าวทั่วๆไป มักจะเรียกว่า "เล่นเสรี"แต่ในความหมายที่แท้จริงของมอนเตสซอรี่ หมายถึง "งาน" อุปกรณ์การเรียนของมอนเตสซอรีที่ใช้ฝึกประสาทสัมผัสและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อของเด็กปฐมวัย ขณะนี้เป็นที่สนใจของนักวิจัยปัจจุบันที่เน้นความสำคัญของการฝึกประสาทสัมผัสในการพัฒนาการคิดการรู้ของเด็กปฐมวัย
5.การประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก เด็กจะมีเเรงจูงใจภายในที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง การทำได้สำเร็จด้วยตนเองจะเป็นรางวัลภายในของจิตของเด็ก เพราะฉะนั้นในการสอนของมอนเตสซอรี่ จะเน้นแรงจูงใจจากภา เช่น ยใน มิใช่แรงจูงใจจากภายนอก เช่น รางวัล หรือดาว
6.การที่เด็กได้ทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆนี้ มอนเตสเซอรี่ เชื่อว่าจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก เด็กที่ไม่มีโอกาสทำงานในวัยปฐมวัยนี้จะเติบโตเป็นคนเฉื่อยชา ไม่สนใจในสิ่งใด และยากต่อการเรียนรู้
แนวการสอนของมอนเตสเซอรี เน้นความสำคัญของครูมากมอนเซอรี่ กล่าวถึงลักษณะของครูปฐมวัยดังนี้
1.ครูจะต้องมีเจตคติที่ดีต่อเด็ก รับเด็กอย่างที่เป็น เพื่อให้เด็กสามารถยอมรับตนเอง
2.การสังเกตเด็กของครูถื่อว่าเป็นวิธีการสอน มอนเตสซอรี่ย้ำถึงความสำคัญของทักษะการสังเกตเด็กของครูมาก เพราะจากการสังเกตเด็กครูจะสามารถรู้ว่าเด็กต้องการอะไร ต้องการเรียนรู้เรื่องใดสามารถทำสิ่งใดได้ และมีปัญหาที่ครูจะช่วยได้อย่างไร มอนเตสเซอรีกล่าวว่า คนที่สังเกตไม่ได้ จะไม่มีทางเป็นครูที่ดีได้เลย
3.ครูให้เด็กมีเสรีในการตัดสินใจ มีโอกาสเลือก ให้เด็กได้เสี่ยง (take risk)และเรีนนรู้จากความผิดพลาด(mistake)อนึ่งอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี จะช่วยให้เด็กรู้ผลของการกระทำของตนเองและเด็กมีโอกาสได้ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
4.คูรจัดเตรียมสิ่งแวดล้อม (prepared environment) ซึ่งจะมีสิ่งของที่พัฒนาทักษะทางด้านกล้ามเนื้อ การสัมผัส การเคลื่อนไหว ครูจะให้เด็กเลือกและทำงานด้วยตนเอง มอนเตสซอรีพบว่า เด็กมีสมาธิหรือสามารถนั่งทำงานได้เวลานานเป็นเวลานานในสิ่งที่สนใจ เด็กชอบความเป็นระเบียบและชอบทำงานมากกว่าเล่น เมื่อเด็กกระทำงานใดเด็กมักจะทำซ้ำๆจนกระทั่งมีความมั่นใจและชำนาญในการกระทำนั้น กิจกรรมที่เด็กกระทำและมอนเตสซอรี่ถือว่าเป็นงาน(work)นั้นเวลากล่าวทั่วๆไป มักจะเรียกว่า "เล่นเสรี"แต่ในความหมายที่แท้จริงของมอนเตสซอรี่ หมายถึง "งาน" อุปกรณ์การเรียนของมอนเตสซอรีที่ใช้ฝึกประสาทสัมผัสและความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อของเด็กปฐมวัย ขณะนี้เป็นที่สนใจของนักวิจัยปัจจุบันที่เน้นความสำคัญของการฝึกประสาทสัมผัสในการพัฒนาการคิดการรู้ของเด็กปฐมวัย
5.การประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการและความต้องการของเด็ก เด็กจะมีเเรงจูงใจภายในที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง การทำได้สำเร็จด้วยตนเองจะเป็นรางวัลภายในของจิตของเด็ก เพราะฉะนั้นในการสอนของมอนเตสซอรี่ จะเน้นแรงจูงใจจากภา เช่น ยใน มิใช่แรงจูงใจจากภายนอก เช่น รางวัล หรือดาว
6.การที่เด็กได้ทำงานกับอุปกรณ์ต่างๆนี้ มอนเตสเซอรี่ เชื่อว่าจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็ก เด็กที่ไม่มีโอกาสทำงานในวัยปฐมวัยนี้จะเติบโตเป็นคนเฉื่อยชา ไม่สนใจในสิ่งใด และยากต่อการเรียนรู้
สรุป แนวการสอนของมอนเตสซอรี
แนวการสอนของมอนเตสซอรี เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมอนเตสซอรีมีความเห็นว่า เด็กวัย 0-6 ปี หรือปฐมวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีจิตที่ตื่นตัว (active) อย่างมากในการที่จะเรียนรู้ซึมซับจากสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กหรือผู้ดูแลเด็กควรมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก มีความรัก เอื้ออาทรและในขณะเดียวกันให้ความเคราพในเอกัตภาพของเด็กโดยให้โอกาสเด็กในการเลือกให้เด็กมีเสรีภาพ นอกจากนี้เด้กควรจะได้พัฒนาประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหวโดยได้มีการหยิบจับกระทำ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ (Independence)อุปกรณ์ในการฝึกประสาทสัมผัสของมอนเตสซอรีที่เรียกว่า didactic apparatus มีชื่อเสียงมาก
มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความมีระเบียบ มอนเตสซอรีจึงเน้นการเตรียมการสอนของครูให้เป็นไปตามขั้นตอน
การสอนของมอนเตสซอรีจะเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคล โดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็นรายบุคคล แต่การแนะนำการใช้อาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆก่อน
นอกจากนี้มอนเตสเซอรี่เน้นการที่ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง เพื่อเป้นการฝึกการคิดริเริ่มด้วยตนเอง และความสามารถในการนำทางตนเองได้ (individual initiative and self-direction)
มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กมีจิตที่อยากรู้ อยากทำได้ เพราะฉะนั้นอุปกรณ์การสอนของมอนเตสซอรีจะเปิดโอกาสให้เด็กฝึกทำ ลองผิดลองถูก ไม่กลัวผิด กล้าเสี่ยง และเมื่อเด็กทำได้เด็กจะรู้สึกพอใจ และเป็นรางวัลภายในตนเอง การสอนของมอนเตสซอรี่จึงไม่มีการให้คะเเนนให้ดาว ซึ่งเป็นสิ่งเร้าภายนอก แต่ให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจที่ทำได้เอง
มอนเตสซอรีไม่เน้นบทบาทเรื่องการสอนของครู แต่เน้นบทบาทในการสังเกต อำนวยความสะดวกจัดอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเด็ก ถ้าจะช่วยเด็กก็ต้องช่วยชนิดที่ให้เด็กช่วยตัวเองได้
มอนเตสซอรีมีความเชื่อมั่นจิตที่ตื่นตัวที่จะเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมาก ถึงกล่าวว่าเด็กที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ดื้อ ซนอยู่ไม่สุขก้าวร้าวนั้นเป็นเพราะเด็กมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่เด็กต้องการทำ คือ การได้เคลื่อนไหว การฝึกประสาทสัมผัส ความภาคภูมิใจที่ทำได้ เมื่อเด็กไม่มีโอกาสทำตามที่ธรรมชาติของเด็กต้องการเด็กก็จะมีกิริยาก้าวร้าวหรือมีปัญหาต่างๆ มอนเตสซอรีเชื่อว่า ถ้าจัดประสบการณ์การเรียนให้เหมาะสมกับความต้องการทางจิตที่จะเรียนรู้ของเด็กแล้ว เด็กจะไม่มีปัญหาทางวินัย และจะเติบโตเป็นบุคคลที่มีความมั่งคงทางจิตใจพึ่งตนเองได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ชไวฮาร์ต (Schweinhart,1988) ได้เปรียบเทียบ หลักสูตรการจัดประสบการณ์ในชั้นปฐมวัยของแนวการสอน 4 แบบ ที่แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ คือ
1.แบบวินิจฉัยและแก้ไข (Diagnostic and Prescriptive)
2.แบบครูสอนโดยตรง (Direct Instruction)
3.แบบไฮโคป (High Scope)
4.แบบมอนเตสซอรี (Montessori)
การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ( Waldorf Method)
การศึกษาปฐมวัย เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่เด็กปฐมวัย ลักษณะของการจัดการศึกษาเน้นการดูแลควบคู่ไปกับการให้การศึกษา รูปแบบการเรียนการสอนแต่ละรูปแบบมีจุดเด่นเฉพาะของรูปแบบที่ครูสามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนของตน จุดสำคัญของการใช้รูปแบบอยู่ที่ครูเข้าใจมโนทัศน์ของรูปแบบ แนวคิดพื้นฐาน หลักการสอน วิธีจัดการเรียนการสอน การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ บทบาทครู
แนวคิดพื้นฐาน
การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการเรียนรู้ของคนเกิดจากความสมดุลของความคิด ความรู้สึก และเจตจำนงของคน ๆ นั้น หากเด็กได้อยู่ในบรรยากาศแห่งความต้องการ ความรู้สึกสบายใจ ความผ่อนคลาย เด็กจะถ่ายทอดความคิดและการเรียนรู้อย่างแยบคลายร่วมไปกับการทำกิจกรรมที่เขากระทำอยู่
รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ( Rudolf Stiner , 1861 – 1925 ) ได้จัดตั้งโรงเรียนวอลดอร์ฟ ( Waldorf School ) แห่งแรกขึ้นที่สตุทการ์ต ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1919 โดยมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการช่วยคนให้ดำเนินวิถีชีวิตแห่งตนที่ถูกต้องตามธรรมชาติ ด้วยการให้เด็กทำกิจกรรมมีครูและผู้ปกครองเป็นผู้ป้องกันเด็กจากการรบกวนของโลกสมัยใหม่และเทคโนโลยี สิ่งที่เด็กสัมผัสต้องเป็นธรรมชาติที่บริสุทธ์
แนวคิดของสไตเนอร์เน้นการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะสไตเนอร์เชื่อว่าเด็กสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ภายใต้การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติไม่ต้องตกแต่งการสอนของครู ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้อย่างนุ่มนวลและแทรกซึมไปกับความรู้สึกของเด็กตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยี
หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
การเรียนรู้ของวอลดอร์ฟมาจากการซึมซับด้วยการสืบสานโดยตามธรรมชาติและตามธรรมชาติที่หล่อหลอมเข้าภายในตัวเด็กทั้งกายและจิตวิญญาณ บรรยากาศการเรียนรู้รอบตัวเด็กทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนหรือกลางแจ้งต้องเป็นบรรยากาศที่งดงามตามธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความสงบและอ่อนโยน
บทบาทครู
ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย ในขณะเดียวกันครูต้องเป็นผู้เชื่อมสานงานโรงเรียนสู่บ้านเพื่อสานภารกิจการสร้างพลังการเรียนรู้อย่างธรรมชาติให้เกิดขึ้นกับเด็ก
ครูต้องทำหน้าที่ในการติดตามประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของเด็กในการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล ครูมิใช่เป็นเพียงผู้ที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ แต่ครูจะถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความมุ่งมั่นและความรักอย่างแท้จริงให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้พบโอกาสของการพัฒนาศักยภาพภายในตนเองได้มากที่สุดและเต็มศักยภาพ
สรุป
ข้อดีของการเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟ ได้แก่ การใช้วิถีธรรมชาติเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสะระหนึ่งที่สำคัญซึ่งครูสามารถนำไปประยุกต์สู่การสอนตามปกติได้ การใช้สื่อการเรียนรู้ธรรมชาติที่ไม่ใช้อุปกรณ์สำเร็จรูปสามารถสร้างเสริมการเรียนรู้ให้กับเด็กมากกว่า ครูควรให้ความสนใจกับการใช้อุปกรณ์ธรรมชาติให้เด็กได้สัมผัสและนำมาสร้างสรรค์การเรียนรู้ด้วนตนเอง
โรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ Waldorf หนึ่งในโรงเรียนทางเลือก ที่อยู่ความสนใจของผู้ปกครอง และกำลังมองหาโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟอยู่ มาทำความรู้จักกับแนวคิด หลักสูตร รูปแบบการเรียนการสอนของโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟ และที่สำคัญคือลูกจะได้อะไรจากการเรียนในโรงเรียนแนวการสอนแบบวอลดอร์ฟกันบ้าง
แนวการเรียนการสอนของโรงเรียนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ เป็นแนวการศึกษาที่บูรณาการวิชาการไปกับกิจกรรรมต่างๆ โดยมีครูคอยดูแลและอำนวยความสะดวก เน้นการจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความงดงามของธรรมชาติทั้งในกลางแจ้งและในห้องเรียน โดยเชื่อว่าช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อพัฒนาให้เด็กเป็นมนุษย์ที่มีบุคลิกภาพที่สมดุลกลมกลืนไปกับโลกและสิ่งแวดล้อม และได้ใช้พลังงานทุกด้านอย่างพอเหมาะ
จุดเด่นของโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ
โรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวตามมนุษยปรัชญา เพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ เป้าหมายของการศึกษาวอลดอร์ฟคือ ช่วยให้มนุษย์บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนมีและสามารถกำหนดความมุ่งหมายและแนวทางแก่ชีวิตของตนได้อย่างอิสระตามกำลังความสามารถของตัวเอง
การศึกษาแนววอลดอร์ฟนี้จึงเน้นเรื่องของการเชื่อมโยงมนุษย์กับจักรวาล โดยมีมุมมองว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นการสอนให้รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตนในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก โดยผ่านกิจกรรม 3 อย่างคือ กิจกรรมทางกาย ผ่านอารมณ์ความรู้สึก และผ่านการคิด เน้นการให้เด็กได้ใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ด้านศิลปะ และด้านการปฏิบัติอย่างพอเหมาะ
โรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟจะสอนตามพัฒนาการของเด็ก โดยเฉพาะวัย 0-7 ปีเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางกายมาก จึงเน้นไปที่การเล่นเพื่อพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆ เด็กจะได้เป็นผู้ลงมือกระทำ ได้แสดงออกเพื่อฝึกการคิดและจินตนาการทั้งในวิชาทางด้านศิลปะ ดนตรี การวาดเขียน และในงานภาคปฏิบัติอื่นๆ
สิ่งที่การเรียนแนววอลดอร์ฟเน้นมากคือ "จินตนาการของเด็กคือการเรียนรู้" วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้จะต้องเป็นธรรมชาติ เช่น ถ้าวาดรูป สีที่ใช้ก็จะมีแค่สีปฐมภูมิ คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง เท่านั้น แนวคิดนี้จะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน มองเห็นว่าโลก สิ่งแวดล้อม และสรรพสิ่งเป็นสิ่งเดียวกันต้องช่วยกันรักษา ซึ่งส่งเสริมให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น
กิจกรรมที่มุ่งเน้นในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
ส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนแนววอลดอร์ฟมักจะเน้นไปที่การเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่มีห้องเรียน ไม่มีกระดานดำ แต่จะมีมุมต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ ได้เป็นอิสระที่จะคิดและสร้างสรรค์ หรือหากเด็กๆ ต้องการเล่นตุ๊กตา เล่นรถ ในห้องก็จะมีข้าวของที่ทำจากธรรมชาติให้ประดิษฐ์ดัดแปลงเล่นกัน เช่น ผ้าหลากสี ท่อนไม้ เปลือกไม้ ลูกสน เป็นต้น ทุกอย่างจะถูกกำหนดให้เป็นได้สารพัดตามแต่ใจเด็กๆ จะคิดฝันให่ออกมาเป็นอะไร หรือกำลังเล่นอะไร เช่น การวาดรูปด้วยสีน้ำ ปั้นดินเหนียว ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร งานฝีมือ ล้างจาน เป็นต้น
กิจกรรมที่อยู่ในโรงเรียนแนวการสอนวอลดอร์ฟเหล่านี้จะทำให้เด็กเห็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้เข้าใจแนวทางพื้นฐานในการปรับตัวเข้ากับชีวิต และกระตุ้นความร่วมมือของเด็ก การเรียนรู้ทุกอย่างจึงต้องเป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาเหมือนกับเป็นประสบการณ์จริง ได้สนใจหลายๆ ด้าน เด็กผู้หญิงเด็กผู้ชายสามารถได้ทำทุกอย่าง ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับเด็ก
ครูผู้ดูแลต้องใส่ใจในรายละเอียด เพราะกิจกรรมแต่ละตัว เด็กอาจมีวิธีการของเขาเอง ครูไม่สามารถปิดกั้นว่าเขาต้องทำตาม ซึ่งหากทำได้แบบนี้จะส่งผลให้เด็กได้รู้จักคิดพลิกแพลง ยืดหยุ่นเข้ากับสถานการณ์ทั้งในเชิงความคิด และวิธีการมองปัญหา
เด็กๆ ของโรงเรียนวอลดอร์ฟมักจะได้ลงมือทำกิจกรรมมากที่สุดเพราะเป็นวิธีเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ดีกว่าที่ครูจะมาพูดปากเปล่า เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วจึงค่อยมาสรุปเป็นแนวคิด เช่น ให้ลงมือทำขนมปังเอง เด็กทุกคนจะเห็นกระบวนการตั้งแต่แรก ที่มาที่ไปว่าแป้งมาจากไหน เริ่มจากข้าวเปลือก ได้สีเมล็ดข้าวเองด้วยเครื่องสีข้าว ได้โม่ข้าวด้วยเครื่องโม่ พอเป็นแป้งแล้วก็นำไปนวด นำไปอบเป็นขนมปัง แต่ละขั้นตอนสะท้อนให้เห็นความละเอียดอ่อนของจิตใจมากกว่าที่จะใช้วิธีพูดสอน
การได้ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง จะเป็นการสร้างความอดทนและปลูกฝังให้เด็กสำนึกในบุญคุณต่อสิ่งที่ได้รับจากธรรมชาติและมนุษย์ แทนที่จะบริโภคอย่างฉาบฉวย ก็จะเห็นคุณค่าของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
สภาพแวดล้อมในโรงเรียนวอลดอร์ฟ
รูดอร์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวเยอรมัน ผู้ริเริ่มแนวการเรียนการสอนแนววอลดอร์ฟเชื่อว่า สิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนจะซึมซับสิ่งแวดล้อมและเรียนรู้ได้ง่าย ดังนั้นการจัดบรรยากาศทั้งในและนอกชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีการเน้นความงดงามตามธรรมชาติ เช่น การจัดสีที่นุ่มนวล แสงสว่างจากธรรมชาติที่ไม่จัดจ้า ตลอดจนเสียงที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกร้อง ใบไม้ไหว น้ำไหลริน หรือเสียงดนตรีที่ไพเราะ จะสร้างความรู้สึกอบอุ่น อ่อนโยน และสดชื่นให้เกิดขึ้นในจิตใจเด็ก เด็กจะมีพลัง ตื่นตัว และมีสมาธิในการเรียนรู้ได้ไม่ยาก
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้นำเสนอแนวคิด “เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Learning by doing)” ว่า “ครูไม่ใช่ผู้กำหนดความคิด หรือจัดพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดให้กับเด็ก แต่เป็นสมาชิกของชุมชนที่จะสร้างอิทธิพลที่มีผลให้เด็กช่วยตนเองได้ตอบสนองกลับมาอย่างเหมาะสม ที่จะเกิดการแสดงออกที่สร้างสรรค์ภายในศูนย์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง” (Dewey,1897) ต่อมาเกิดรูปแบบการเรียนรู้จาก แนวคิดของดิวอี้ หลายรูปแบบ ได้แก่ - การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) - การเรียนรู้แบบช่วยเหลือกัน (Collaborative learning) - การเรียนรู้โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ (Independent investigation method) - การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) - การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based learning)
ทอม มาร์คาม (Thom Markham, 2011) ได้อธิบายความหมายของPBL = Project-Based Learning ว่าเป็น “การบูรณาการความรู้ และการปฏิบัติ โดยนักเรียนจะได้เรียนรู้องค์ประกอบสำคัญที่ต้องรู้ แต่จะประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหา และได้ผลเป็นชิ้นงานขึ้นมา เด็กที่เรียนรู้แบบนี้จะได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือดิจิทอลคุณภาพสูง และได้ชิ้นงานที่เกิดจากการผสมผสาน พีบีแอลจะปรับมุมมองของการศึกษาสู่ระดับโลก และได้อีกหลายอย่างตามมา ทั้งแรงขับ ความรัก ความคิดสร้างสรรค์ การเอาใจใส่ และความยืดหยุ่น”
ความหมาย ประวัติความเป็นมาของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา
ทิศนา แขมมณี (2545 : 85) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญาว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีการสอนแบบนี้ คือ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) โดยเขาได้เขียนหนังสือเรื่อง “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
ทฤษฎีเชาวน์ปัญญาแบบเดิมนั้น มักจะเน้นความสามารถในเชิงภาษา คณิตศาสตร์ และความคิดเชิงตรรกะ ดังจะเห็นได้จากการสอบคัดเลือกทั่วไป ทั้งวิชาวัดแววความเป็นครูในการสอบแอดมิชชั่นเข้ามหาวิทยาลัย หรือ ข้อสอบบรรจุเข้ารับราชการ มักจะเน้นองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เป็นหลัก และถือว่าเป็นสิ่งกำหนดระดับเชาวน์ปัญญาของบุคคลไปตลอดชีวิต เพราะทฤษฎีเดิมถือว่า เชาวน์ปัญญาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต แต่การ์ดเนอร์ ได้ให้ความหมายของเชาวน์ปัญญาใหม่ว่า (Gardner. 1983 อ้างใน ทิศนา แขมมณี. 2545 : 86)
การ์ดเนอร์นั้น มีความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับสติปัญญาที่สำคัญ 2ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษา และทางคณิตศาสตร์เท่า นั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8ประเภทด้วยกัน (ดังจะได้กล่าวต่อไป) แต่การ์ดเนอร์เองก็กล่าวว่าอาจจะมีมากกว่า 8 ประเภท โดยคนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถที่แตกต่างกันออกไปนี้ เมื่อผสมผสานออกมาแล้วจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุคคล
2.เชาวน์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย หากแต่สามารถเปลี่ยน แปลงได้ตามสภาพแวดล้อม และการส่งเสริมที่เหมาะสม
การ์ดเนอร์เองได้อธิบายถึงเชาวน์ปัญญาไว้ว่า ประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการ ได้แก่
1.ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติ และตามบริบททางวัฒนธรรมของแต่ละบุคคล
2.ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (เชาวน์ปัญญา 8ด้าน)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8 ด้าน โดย พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว (2546 : 109 – 114) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดดังนี้
1.สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
สติปัญญาด้านภาษา เป็นความสามารถในการเลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงออกในการสื่อความหมาย โดยมีสมองส่วนBrocals Area ซึ่งเป็นสมองส่วนหน้า ควบคุมการเรียบเรียงประโยคออกมาเป็นประโยคที่สื่อความตามหลักภาษา หากสมองส่วนนี้อาจจะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่รู้เรื่อง แต่ยังฟังหรืออ่านสิ่งต่างๆ แล้วเข้าใจได้อยู่
2.สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)
สติปัญญาในด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ และด้านภาษาที่กล่าวไปข้างต้น มักจะถือว่าเป็นสติปัญญาขั้นทั่วไปของมนุษย์ มักจะวัดผ่านแบบทดสอบต่างๆ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้มีสมองส่วนควบคุมกลไกในการแก้ปัญหาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์กล่าวถึงสติปัญญาในด้านนี้ว่า มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
1.ด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (mathmatics)
2.ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
3.ด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logic)
3.สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)
สติปัญญาในด้านนี้เป็นความสามารถในการใช้ส่วนของร่างกายเพื่อการแสดงออก สร้าง สรรค์ หรือสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ที่มีเชาวน์ปัญญาในด้านนี้จะมีสมองส่วนที่เรียกว่า Cortex โดยสมองส่วนหนึ่งจะเป็นหลักในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย อีกด้านหนึ่งไขว้กัน (ขวาควบคุมซ้าย ซ้ายควบคุมขวา) คนที่ถนัดขวาจะมีการพัฒนาที่ชัดเจนมาตั้งแต่เด็ก
4.สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เชาวน์ปัญญาในด้านนี้เป็นเชาวน์ปัญญาที่มนุษย์มีมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เพราะมนุษย์วาดภาพเพื่อสื่อสารความหมายมาตั้งแต่สมัยนั้น
5 .สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาตอนบน บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้ จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่างๆ โดยที่บางครั้งอาจดูเหมือนไม่มีความสามารถ เช่น เล่นเปียโนได้ แต่ไม่สามารถเล่นเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้ หรือ บางครั้งในการเรียนทฤษฎีดนตรี อาจจะสอบตก แต่ร้องเพลงได้ไพเราะ เป็นต้น
6.สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า หากสมองด้านนี้ถูกทำลายจะทำให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคม ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้ มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
7.สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป ผู้ที่ไม่มีสติปัญญาในด้านนี้ มักจะมีบุคลิกเฉื่อยชา เชื่องช้า ไม่ยินดียินร้ายและเศร้าซึม
8.สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)
เชาวน์ปัญญาในด้านนี้ การ์ดเนอร์ได้เพิ่มหลังจากที่ตีพิมพ์หนังสือ“Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” แล้ว แต่ก็ได้กล่าวถึงลักษณะของเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ในภายหลังว่า เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้ มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
3.การประยุกต์ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญากับการสอนในชั้นเรียน
ทิศนา แขมมณี (2545 : 89 – 90) กล่าวว่า การมองและเข้าใจเชาว์ปัญญาในความ หมายที่ต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดการกระทำที่แตกต่างกัน ทฤษฎีพหุปัญญา ได้ขยายขอบเขตของความหมายของคำว่าปัญญาออกไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นจากเดิม ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวางเช่นกัน แนวทางการนำทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ในการเรียนการสอนมีหลากหลายดังนี้
1.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน มิใช่มุ่งพัฒนาแต่เพียงเชาวน์ปัญญาด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นในอดีต เรามักจะมีการเน้นการพัฒนาด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์หรือด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อันเป็นการพัฒนาสมองซีกซ้ายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสพัฒนาเชาวน์ปัญญาด้านอื่น ๆ เท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่มีเชาวน์ปัญญาด้านอื่นสูง จะขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และพัฒนาในด้านที่ตนมีความสามารถหรือถนัดเป็นพิเศษ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสติปัญญาหลาย ๆ ด้าน จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมอัจฉริยภาพหรือความสามารถเฉพาะตนของผู้เรียนไปในตัว
2.เนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียน ตัว อย่างเช่น เด็กที่มีเชาวน์ปัญญาด้านดนตรีสูงจะพัฒนาปัญญาด้านดนตรีของตนไปอย่างรวดเร็ว ต่างจากเด็กคนอื่น ๆ ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เด็กที่มีขั้นพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งสูง ควรต้องแตกต่างไปจากเด็กที่มีขั้นพัฒนาการในด้านนั้นต่ำกว่า
3.เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีเชาวน์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกัน การผสมผสานของความสามารถด้านต่าง ๆ ที่มีอยู่ไม่เท่ากันนี้ ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่ง เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน และความแตกต่างที่หลากหลาย (Diversity) นี้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ดังนั้น กระบวนการคิดที่ว่าคนนี้โง่ หรือเก่งกว่าคนนั้นคนนี้จึงควรจะเปลี่ยนไป การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่นนี้ ผู้เรียนก็จะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เห็นคุณค่าในตนเอง ในขณะเดียวกันก็มีความเคารพในผู้อื่น และอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลกัน
4.ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปจากแนวคิดเดิมที่ใช้การทดสอบเพื่อวัดความสามารถทางเชาวน์ปัญญาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และที่สำคัญคือ ไม่สัมพันธ์กับบริบทที่แท้จริงที่ใช้ความสามารถนั้น ๆ ตามปกติ วิธีการประเมินผลการเรียนการสอนที่ดี ควรมีการประเมินหลาย ๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น ๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหา หรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้น อีกวิธีหนึ่งคือการให้เรียนอยู่ในสภาพการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้สติปัญญาหลายด้าน หรือการให้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาหลาย ๆ ด้าน และสังเกตดูว่า ผู้เรียนเลือกใช้เชาวน์ปัญญาด้านใด หรือศึกษาและใช้อุปกรณ์ซึ่งสัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านใด มากเพียงไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น